Language

นิสิตแพทย์ จุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหาทางสรีรวิทยานานาชาติ "10th Inter-Medical School Physiology Quiz"

การแข่งขันตอบปัญหา Inter-Medical School Physiology Quiz เป็นการแข่งขันตอบปัญหาทางสรีรวิทยานานาชาติ ที่ถูกจัดขึ้นทุกปีโดย Professor Cheng Hwee Ming, MD, PhD ณ University of Malaya กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยครั้งนี้เป็นการแข่งขันครั้งที่ 10 จัดขึ้นในวันที่ 29 - 30 สิงหาคม 2555 มีทีมนักศึกษาแพทย์เข้าร่วมกว่า 70 ทีม จาก 17 ประเทศทั่วโลก อาทิ จีน อินเดีย โปแลนด์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย โดยมีทีมจากประเทศไทยเข้าร่วม 8 ทีมด้วยกัน ดังนี้

  • คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 
  • สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่งทีมคณะตัวแทนนิสิตเข้าร่วมการแข่งขันต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ครั้งที่ 6 โดยทีมจุฬาฯได้รับรางวัลการสอบข้อเขียนประเภททีมเป็นที่ 1 ทุกครั้ง และได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันครั้งที่ 9 เมื่อปีที่ผ่านมา โดยในครั้งที่ 10 นี้ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่งทีมตัวแทนนิสิตเข้าร่วม 5 คน ดังนี้ (เรียงจากซ้ายไปขวา)

Image
  1. นิสิตแพทย์กิตติธัช  ตันติธนวัฒน์ (นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 3)
  2. นิสิตแพทย์ภานุพงศ์  ห่านศรีวิจิตร (นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 3)
  3. นิสิตแพทย์กฤติน  อู่สิริมณีชัย (นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 3)
  4. นิสิตแพทย์ดนิษฐ์  เลียวสุธามาศ (นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 3)
  5. นิสิตแพทย์ณัชชากร  ขวัญขจรวงศ์ (นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 3)

อาจารย์ นายแพทย์ ธนวัฒน์  ธาราพันธ์ (อาจารย์ผู้ดูแลทีม, กลาง)

ทั้งนี้โดยมี รศ.พญ. ดวงพร  ทองงาม หัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยาเป็นประธานคัดเลือกนิสิต และคณาจารย์ในภาควิชาเป็นที่ปรึกษาให้ความสนับสนุนช่วยเหลือในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ ผศ.ดร.ศักนัน พงศ์พันธุ์ผู้ภักดี ผู้เคยเป็นอาจารย์ผู้ดูแลนิสิตในรุ่นก่อน เป็นพี่เลี้ยงให้เป็นอย่างดี

การแข่งขันตอบปัญหานี้ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อเขียน ในวันที่ 29 สิงหาคม 2555 และการตอบปัญหาปากเปล่า ในวันที่ 30 สิงหาคม 2555 เวลา การตอบปัญหาปากเปล่าจะดำเนินไปโดย ตัวแทน 3 คน จากแต่ละทีมส่งผู้เข้าแข่งขันขึ้นเวที 3 คน และให้สมาชิกออกมาตอบคำถามครั้งละ 1 คน โดยกติกาคือ ถ้าตอบคำถามสำหรับตนเองถูกต้องจะได้ 3 คะแนน ถ้าตอบผิดสมาชิกจากทีมอื่นจะแข่งกันกดปุ่มเพื่อแย่งสิทธิ์ในการตอบ ซึ่งถ้าตอบถูกต้องจะได้ 2 คะแนน ถ้าตอบผิดจะติดลบ 1 (-1) คะแนน โดยการแข่งขันรอบแรกในช่วงเช้าจะแบ่งออกเป็น กลุ่ม กลุ่มละ ทีม ทีมจุฬาฯมีกำหนดการแข่งขันในกลุ่มที่ 6 พบกับทีมจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, Foundation University Medical college (ปากีสถาน), Medical University of Warsaw (โปแลนด์), University of Dammam (ซาอุดิอาระเบีย) เมื่อการแข่งขันในกลุ่ม จบลง ทีมจุฬาฯมี 11 คะแนน นำห่างอันดับ คือ University of Dammam และ Medical University of Warsaw ที่มี คะแนนเท่ากัน

ก่อนการพักเที่ยง มีการประกาศผลและพิธีมอบรางวัลสำหรับนักศึกษาแพทย์ที่ทำคะแนนในการสอบข้อเขียนได้ที่ 1 ถึง 10 เป็นที่น่าภาคภูมิใจมากที่ทีมจุฬาฯคว้าได้ 5 รางวัล โดย

นิสิตแพทย์ กิตติธัช  ตันติธนวัฒน์ และ นิสิตแพทย์กฤติน  อู่สิริมณีชัย ได้รับรางวัลอันดับที่ 1 ร่วมกัน (คะแนนเท่ากัน)

นิสิตแพทย์ ณัชชากร  ขวัญขจรวงศ์ และ นิสิตแพทย์ ดนิษฐ์  เลียวสุธามาศได้รับรางวัลอันดับที่ 3 ร่วมกัน (ไม่มีอันดับ 2)

นิสิตแพทย์ ภานุพงศ์  ห่านศรีวิจิตร ได้รับรางวัลอันดับที่ 8

ในการแข่งขันรอบ ในช่วงบ่าย แบ่งออกเป็น กลุ่ม กลุ่มละ ทีม โดยจะประกอบด้วย ทีมที่ชนะแต่ละกลุ่ม (8 ทีม) และทีมอันดับที่ 2 ที่มีคะแนนดีที่สุดในรอบแรก (4 ทีม) หลังจากแบ่งกลุ่มด้วยการจับฉลากทีมจุฬาฯอยู่ในกลุ่ม พบกับ University of Santo Tomas (ฟิลิปปินส์), University Sains Malaysia, International Medical University (มาเลเซีย) โดยทีมจุฬาฯมีคะแนนสูงสุดคือ คะแนน ตามติดด้วย University of Santo Tomas ที่มี คะแนน ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ

รอบรองชนะเลิศเป็นการพบกันระหว่างทีมที่ชนะของแต่ละกลุ่ม (3 ทีม) และทีมที่มีคะแนนสูงสุด อันดับถัดมา (3 ทีม) รวม 6 ทีม แบ่งออกเป็น กลุ่ม ทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบนี้ได้แก่ ทีมจุฬาฯมหาวิทยาลัยมหิดล, University of Santo Tomas (ฟิลิปปินส์), Second Military Medical University (สาธารณรัฐประชาชนจีน),University Sains Malaysia และ University of Malaya (ทีมเจ้าภาพ) โดยทีมจุฬาฯ (กลุ่ม 2) พบกับ University of Santo Tomas และ Second Military Medical University การแข่งขันรอบนี้ทีมจุฬาทำคะแนนจากการตอบคำถามข้อที่ทีมอื่นตอบผิดได้มาก ทำให้มี 15 คะแนน นำห่าง Second Military Medical University ทีมอันดับ 2 ที่มี คะแนน ในขณะที่ทีมมหิดลฯ (กลุ่ม 1) ชนะด้วยคะแนน 10 คะแนน เข้ารอบชิงชนะเลิศพร้อมอันดับ ของกลุ่ม 1 คือ University of Malaya ที่มี คะแนน

รอบชิงชนะเลิศเป็นการแข่งขันกันระหว่างทีมจุฬาฯ, ทีมมหิดลฯ และ University of Malaya ซึ่งเป็นที่น่าประหลาดใจมากสำหรับผู้เข้างานแข่งขัน เนื่องจากมีทีมจากประเทศไทยเข้าสู่รอบชิงฯถึง 2 ทีมด้วยกัน การแข่งขันรอบสุดท้ายนี้ ทั้ง 3 ทีม ตอบคำถามซึ่งมีความยากและความซับซ้อนมากขึ้น โดยทีมจุฬาสามารถเอาชนะไปได้ด้วยคะแนน คะแนน อันดับ ทีมมหิดลฯ มี คะแนน และ University of Malaya 4 คะแนน

พิธีมอบรางวัลจัดขึ้นหลังจากการแข่งขัน ทีมจุฬาฯได้รับเสียงเชียร์และเสียงปรบมือจากผู้ชมอย่างอบอุ่นในการรับรางวัลชนะเลิศ ตัวแทนนิสิตทุกคนได้รับรางวัลเป็นหนังสือ Harrison's Principles of Internal Medicine และถ้วยรางวัล “Professor A. Raman, MD, PhD Challenge Trophy” 

สุดท้ายนี้ ภาควิชาสรีรวิทยาต้องขอขอบคุณคณาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการนำความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่นี้ มาสู่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกครั้งหนึ่ง